มรดกโลกญี่ปุ่น แห่งที่21 เกาะศักดิ์สิทธิ์ มุนะคาตะ・โอกิโนะชิมะ และสถานที่ที่เกี่ยวข้อง
มรดกโลกญี่ปุ่น แห่งที่21 เกาะศักดิ์สิทธิ์ มุนะคาตะ・โอกิโนะชิมะ และสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ถูกประกาศยอมรับอย่างเป็นทางการแล้ว จากยูเนสโก หลังจากมีการประชุมปรึกษาหารือ กันถึงความเหมาะสม ที่เมืองคราโคฟ ประเทศโปแลนด์ ในวันที่ 9 กรกฎาคม (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการ ภาษาญี่ปุ่นว่า 『神宿る島』宗像・沖ノ島と関連遺産群」หรือ (Sacred Island of Okinoshima and Associated Sites in the Munakata Region)
เกาะโอกิโนะชิมะ เป็นเกาะที่อยู่ในเขตของอ.มุนะคาตะ จ. ฟุกุโอกะ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่แห่งนี้ มีความเชื่อกันว่า เป็นสถานที่ที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิงสถิตย์อยู่ ในยุคโบราณ คนที่จะออกเรือ ต้องมาทำพิธีบูชากราบไหว้เทพเจ้า แห่งท้องทะเล เพื่อให้คุ้มครอง เดินทางโดยปลอดภัย นอกจากนั้น ในบริเวณนี้ ยังพบหลักฐานมากมายกว่า 8หมื่นชิ้น ที่แสดงให้เห็นถึง การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในอดีตอีกด้วย ซึ่งคนญี่ปุ่นได้ขนานนามเรียกกันว่า”อุมิโนะโชโซอิน” หรือ สถานที่เก็บสมบัติอันล้ำค่ำในท้องทะเล
โดยในกระบวนการพิจารณาขั้นต้นนั้น ทางยูเนสโก ได้ชี้แจงและลงความเห็นว่า สถานที่ ที่เหมาะสม จาก 8 สถานที่ทั้งหมด ที่ญี่ปุ่นนำเสนอนั้น มีเพียง 4 สถานที่เท่านั้นที่เหมาะสมเป็นมรดกโลก คือ เกาะโอกิโนะชิมะ , เกาะโคะยะ , มิคะโดะบาชิระ, และเท็งกุอิวะเท่านั้น แต่จากผลการประชุม สมาชิกยูเนสโก จากหลายประเทศต่างลงความเห็นว่า สถานที่ทั้ง 8 ที่ญี่ปุ่นได้นำเสนอ มีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น ทั้งทางพิธีกรรม และความเชื่อ ดังนั้น การบันทึกให้เป็นมรดกโลกแห่งที่ 21 ของญี่ปุ่นในครั้งนี้ จึงมีทั้งหมด 8 สถานที่ที่เกี่ยวข้องด้วยกัน (เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมลำดับที่ 17 อีก 4 แห่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ)
อนึ่งในสมัยก่อนนั้น บนเกาะโอกิโนะนี้ นับเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่มีกฎคือ ห้ามผู้หญิง ขึ้นไปบนเหยียบย่างบนเกาะ อนุญาตให้เพียงแต่ผู้ชายเท่านั้น โดยผู้ชายที่จะขึ้นไปได้ ก็ต้องเป็นช่วงเวลาที่กำหนด คือช่วงบวงสรวงเทพเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาของทุกปี โดยต้องมีการ เปลือยกายชำระล้างร่างกาย ให้สะอาด ก่อนขึ้นไปบนเกาะอีก
แม้ในปัจจุบัน ทางรัฐบาลที่ดูแลเกาะ จะเปิดให้บุคคลทั่วไปขึ้นไบนเกาะได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นช่วงเทศกาล แต่ว่ากฎและระเบียบทุกอย่าง ยังต้องรักษาไว้อย่างเคร่งครัด ตามขนบประเพณีเดิมด้วย